GMAT

ข้อสอบ GMAT ยากแค่ไหน ทำไมหลายคนถึงคิดว่ายาก

หลายคนบอกว่าข้อสอบ GMAT เป็นหนึ่งในข้อสอบที่ยากที่สุดที่เคยทำมา ซึ่งในบทความนี้เราจะพูดกันถึงสาเหตุที่ทำให้ข้อสอบนี้ยาก และเราจะมาประเมินกันว่าข้อสอบนี้เป็นข้อสอบที่ยากจริงรึเปล่าด้วยกันครับ เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด ข้อสอบ GMAT เป็นข้อสอบที่แข่งกับเวลา โดยเลขมีเวลาในการทำแต่ละข้ออยู่ที่ 2 นาที และโดยเฉพาะข้อสอบ verbal ที่ผู้สอบจะมีเวลาทำอยู่ที่เฉลี่ยเพียงละข้อละ 1 นาที 45 วินาที ซึ่งเวลานี้ได้รวมเวลาในการอ่าน part reading ไปด้วยแล้ว!  ดังนั้นแปลว่าผู้สอบต้องบริหารให้ดี และควรจับเวลาในการทำแบบฝึกหัดด้วย บางคนทำการเตรียมสอบจากหนังสือ OG โดยไม่ได้ทำการจับเวลา ทำให้รู้สึกว่าข้อสอบไม่ได้ยากเท่าไหร่ ซึ่งพอไปสอบจริงถึงได้รู้ว่า เวลา เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หลายคนทำข้อสอบนี้ไม่ได้ ข้อสอบปรับความยากง่ายตามความสามารถผู้สอบ ระบบนี้มีชื่อเรียกว่า Computer Adjusted Testing (CAT) เป็นลักษณะข้อสอบปรับความยากง่ายตามความสามารถข้อผู้สอบ ยิ่งทำได้ดี ข้อสอบยิ่งยาก ยิ่งทำได้ไม่ดี ข้อสอบยิ่งง่าย และ ข้อแรกๆจะส่งผลต่อการปรับความยากง่ายนี้มากกว่าข้อหลังๆ ทั้งหมดนี้แปลว่าการผิดพลาดแค่นิดเดียว ก็อาจจะส่งผลต่อข้อสอบทั้งหมดได้ และ ถ้าหากเราต้องการได้คะแนนที่สูง ก็ต้องฝึกให้ทำได้ทั้งข้อสอบชนิดกลางได้เยอะๆ (ข้อแรกๆ) และทำข้อสอบชนิดยาก ซึ่งจะได้เจอเมื่อทำข้อสอบถูกไปเรื่อยๆได้เยอะเช่นกัน ข้อสอบ CAT และ …

ข้อสอบ GMAT ยากแค่ไหน ทำไมหลายคนถึงคิดว่ายาก Read More »

FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับคะแนน GMAT

ในบทความนี้เราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับคะแนน GMAT ไว้ด้วยกันครับ คะแนน GMAT เต็มเท่าไหร่ GMAT มีทั้งหมด 4 พาร์ท Integrated Reasoning (IR), Writing (AWA), Verbal, และ Math IR เต็ม 8, AWA เต็ม 6, Verbal และ Math เต็ม 51 (ถึงแม้ว่าในเว็บจะเขียนว่าเต็ม 60 แต่ในการทำสอบจริงนั้นได้มากสุดเพียงแค่ 51 คะแนน) ส่วนคะแนนรวมเต็ม 800 จะมาจากแค่ส่วนของ Verbal และ Math และตีคะแนนออกมาเป็นคะแนนเต็ม 800 ซึ่งเป็นคะแนนที่มหาวิทยาลัยให้ความสนใจมากที่สุด จะเห็นได้จากค่าเฉลี่ยคะแนนที่มหาวิทยาลัยเน้น คะแนน GMAT เก็บได้นานแค่ไหน  คะแนน GMAT สามารถเก็บได้ 5 ปีหลังจากวันที่สมัครสอบ และสามารถขอคะแนนดูย้อนหลังได้ 10 ปี …

FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับคะแนน GMAT Read More »

สอบ GMAT ได้กี่ครั้ง และ บ่อยแค่ไหน

เนื่องจาก GMAT เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างยาก (หลายคนบอกว่าเป็นหนึ่งในข้อสอบที่ยากที่สุด) และใช้เวลาในเตรียมตัวค่อนข้างเยอะ (โดยทั่วไปมากกว่า 3 เดือน)จึงเป็นเรื่องปกติที่ผู้สอบส่วนใหญ่จะสอบ GMAT มากกว่าหนึ่งครั้ง แต่การสอบข้อสอบนี้นั้น ผู้ออกได้มีนโยบายที่จำกัดจำนวนการสอบของผู้สอบไว้ตามด้านล่างนี้ เว้นระยะการสอบ 16 วัน: โดยการสอบแต่ละครั้งผู้สอบต้องเว้นระยะการสอบ 16 วันก่อนที่จะสอบรอบใหม่ได้ และสามารถทำการจองวัน เวลา และสถานที่ได้ที่เว็บ www.mba.com 5 ครั้งต่อปี : ซึ่งตรงนี้จะอิงตาม รอบปี 12 เดือน (ไม่ใช่รอบปีปฏิทิน) ดังนั้นแปลว่าในทุกๆ 12 เดือนผู้สอบจะสามารถสอบได้ทั้งหมดห้าครั้ง ตัวอย่างเช่นถ้าผู้สอบเริ่มสอบเดือน ตุลาคม, พฤศจิกายน, และ ธันวาคม เดือนละหนึ่งครั้ง ผู้สอบจะสามารถสอบได้อีกเพียงแค่ 2 ครั้งก่อนจะถึงเดือน ตุลาคม ในปีถัดไป 8 ครั้งตลอดชีวิต : กฏนี้เป็นกฏใหม่ที่ออกมาในเดือนธันวาคมปี 2016 ซึ่ง GMAC ผู้จัดการสอบ GMAT ได้มีเป้าหมายหลักไปที่ติวเตอร์และกลุ่มคนที่มักจะสอบหลายๆครั้งเพื่อจำข้อสอบจริงออกมาแชร์หรือขายให้กับผู้ที่กำลังเตรียมสอบ ข้อควรระวัง …

สอบ GMAT ได้กี่ครั้ง และ บ่อยแค่ไหน Read More »

คำศัพท์สำหรับข้อสอบ GMAT และเทคนิคการฝึกคำศัพท์

ถ้าหากเราอ่านบทความในอินเตอร์เน็ตจะเห็นมีหลายคนที่ถามถึงข้อนี้ และ คำตอบที่มักจะได้ก็คือ GMAT เป็นข้อสอบที่เน้นความเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องท่องศัพท์ ใครที่ท่องศัพท์คือการทำข้อสอบ GMAT ผิดวิธี ซึ่งคำตอบนี้ก็ไม่ได้ผิดซะทีเดียว เพราะว่าข้อสอบ GMAT นั้นไม่ได้เหมือนกับข้อสอบ GRE ที่เราต้องนั่งท่องคำศัพท์มากมาย (ซึ่งคำส่วนมากก็ไม่รู้จะเอาไปใช้ตอนไหนในชีวิตประจำวัน) แต่เนื่องจากข้อสอบ GMAT เป็นข้อสอบที่เน้นความเข้าใจ การที่เราไม่รู้จักคำศัพท์ที่สำคัญๆ ก็อาจจะทำให้เราตีความผิด หรือไม่เข้าใจโจทย์ หรือ เนื้อเรื่องใน RC ได้ ดังนั้น ผมขอสรุปว่าคำตอบด้านบนนั้นเหมาะกับ native speaker มากกว่า แต่สำหรับคนไทยอย่างเราๆนั้น หากเราท่องคำศัพท์ที่เห็นบ่อยในหัวข้อที่ออกสอบ ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะอ่านได้ไวขึ้น เข้าใจได้มากขึ้น ดังนั้นสำหรับ GMAT แล้ว เทคนิคการท่องศัพท์จะเป็นสองข้อด้านล่างนี้ครับ 1. ท่องศัพท์ที่ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติม นั่นเพราะคำศัพท์ที่มีคำอธิบายอยู่แล้ว มักจะเป็นคำศัพท์ที่เฉพาะทางและไม่จำเป็นต้องรู้ก็สามารถเข้าใจ reading ได้ (ผู้ออกข้อสอบจึงได้มีคำอธิบายมาให้ในส่วนขยาย หรือประโยคต่อมา) 2. ท่องศัพท์ที่เห็นบ่อยๆ หลังจากที่เราทำข้อสอบมาเยอะๆแล้วจะเริ่มเห็นว่าคำไหนที่เห็นซ้ำๆ บ่อยๆ คำนั้นมีความจำเป็นที่ต้องรู้ เช่น artifact  สำหรับบทความประเภท archaeology, debris …

คำศัพท์สำหรับข้อสอบ GMAT และเทคนิคการฝึกคำศัพท์ Read More »

GMAT: คำว่า prohibit และ forbid ใช้ยังไง

Prohibit  someone from something / doing something เป็น idiom หนึ่งที่เราจะเห็นได้บ่อยในการสอบ GMAT และมีความหมายว่า ห้าม someone จากอะไรบางอย่าง หรือ ห้ามไม่ให้ทำอะไรบางอย่าง ตามตัวอย่างด้านล่างนี้ She prohibited me from eating hamburger. เธฮห้ามไม่ให้ฉันกินเบอร์เกอร์ They are prohibited from working here. พวกเขาถูกห้ามไม่ให้ทำงานที่นี่ แต่ forbid จะใช้ในลักษณะ forbid someone to do something คือการห้าม someone ไม่ได้ทำอะไรบางอย่าง เช่น I forbid you to talk. ฉันห้ามไม่ให้คุณพูด She forbade me to leave my …

GMAT: คำว่า prohibit และ forbid ใช้ยังไง Read More »

Welcome to ExamHunter

0

error: Content is protected !!